top of page
รูปภาพนักเขียนBaramizi

นโยบาย Branding Economy หรือการพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร ?

สวัสดีครับผู้ที่ติดตามผลงานของ Baramizi และสนใจในการสร้างแบรนด์ทุกท่าน วันนี้ในบทความผมที่อยากจะสื่อสารไปถึงรัฐบาลของนายกอุ๊งอิ๊ง และทีมงาน ว่าท่านอยากต่อยอดนโยบาย Soft Power ให้ส่งผลต่อการเติบโตของประเทศ และทำให้ประเทศไทยออกจากการติดหล่มทางเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำมากในหลายปี นั่นเป็นเพราะว่าขาดความสามารถทางการแข่งขันที่เป็นเพียงผู้ผลิตนั้นเราไม่สามารถสู้ประเทศจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ได้อีกต่อไป

สิ่งที่เราต้องพัฒนาประเทศให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้แข็งแกร่งนั้นคือ นโยบาย Branding Economy หรือใช้ภาษาแบบชาวบ้านคือ ต้องทำให้คนทั่วโลกใช้แบรนด์ไทย (ไม่ใช่แค่ใช้สินค้าไทย แต่ต้องใช้แบรนด์ไทย) ประโยชน์ของนโยบายนี้ที่เห็นชัดเจนและเป็นสิ่งที่รัฐบาลในหลายประเทศมักออกนโยบายด้านนี้มา คือ

1.แนวคิดนี้สะท้อนว่าเรากำลังสนับสนุนให้แบรนด์พี่ใหญ่ไปโตในต่างประเทศ โดยมีทิศทางคือการเติบโตในแบบ Global Brand ไม่ใช่แค่การรับจ้างผลิต ต้องมีความรู้ในการพัฒนาและประเมินมูลค่าแบรนด์

2.เมื่อพี่ใหญ่ที่มีความพร้อมไปโตต่างประเทศจะทำให้ SME ในประเทศมีโอกาสในการเติบโต ไม่ถูกกีดกันด้วยกำลังเงินหรืออำนาจต่อรองในตลาด ทำให้ธุรกิจเล็กๆ สามารถขับเคลื่อนเติบโตขึ้นมาได้ เป็นการลดช่องว่างของสังคมไปในตัวครับ หากบทความนี้ไปถึงทีมงานรัฐบาลที่ผู้ที่มีอำนาจในหน่วยงานต่างๆ คิดว่านโยบายนี้เป็นประโยชน์ได้จริง ผมให้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบตัวชี้วัดตามแนวทางดังนี้


นโยบาย Branding Economy หรือการพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถใช้ตัวชี้วัดได้หลายตัว เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของนโยบาย มีดังนี้

📍 1.วัดผลด้วยการเติบโตของ GDP : การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นตัวชี้วัดหลักที่สามารถสะท้อนถึงผลกระทบของนโยบาย Branding Economy ว่าช่วยเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศได้มากน้อยเพียงใด

📍 2.วัดผลด้วยมูลค่าการส่งออก : แบรนด์ที่แข็งแกร่งสามารถเพิ่มความต้องการสินค้าส่งออก การเติบโตของมูลค่าสินค้าและบริการที่ส่งออกจากประเทศเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการสร้างแบรนด์ระดับนานาชาติ (Global Brand)

📍 3.วัดผลด้วยรายได้จากค่าลิขสิทธิ์แบรนด์ (Brand Licensing Revenue) : การให้สิทธิ์ใช้แบรนด์ (Brand Licensing) สามารถสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งสามารถวัดได้เป็นจำนวนเงินที่ได้รับจากการให้สิทธิ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีมูลค่าที่สูง ลดความเสี่ยงในการขยายกิจการและสามารถสร้างผลประกอบการที่มีอัตรากำไรที่สูง ทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน

📍 4.วัดผลด้วยการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment - FDI) : แบรนด์ที่แข็งแกร่งและมีชื่อเสียงสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น การเพิ่มขึ้นของ FDI เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของนโยบาย Branding Economy

📍 5.วัดผลด้วยจำนวนมูลค่าของแบรนด์ (Brand Value) ของธุรกิจในประเทศ :  มูลค่าของแบรนด์แต่ละแบรนด์สามารถวัดได้โดยใช้การประเมินมูลค่าแบรนด์ (Brand Valuation) ซึ่งเป็นการวัดค่าทางการตลาดของแบรนด์ต่างๆ ในประเทศ ตัวชี้วัดนี้สะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ในตลาดโลก และเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ประเภทจับต้องไม่ได้ (Intangible Asset)

📍 6.วัดผลด้วยดัชนีการแข่งขันด้านแบรนด์ (Brand Competitiveness Index) : หลายประเทศและบริษัทมีการวัดดัชนีความสามารถในการแข่งขันของแบรนด์ในตลาดโลก ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถในการขยายตลาด และตำแหน่งของแบรนด์ในตลาดโลก ว่ามีโอกาสขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหน 

📍 7.วัดผลด้วยการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) : การเติบโตในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น สื่อบันเทิง การออกแบบ ภาพยนตร์ สารคดี กีฬา และอุตสาหกรรมวัฒนธรรม สามารถสะท้อนถึงผลสำเร็จของการสนับสนุน การพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยสามารถวัดจากรายได้ การจ้างงาน และจำนวนผู้ประกอบการใหม่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้

📍 8.วัดผลด้วยการเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน : การเติบโตของแบรนด์ช่วยให้เกิดการจ้างงานในหลายภาคส่วน เช่น งานด้านการตลาด, การออกแบบ, สื่อโฆษณา และงานโฆษณาประเภทต่างๆ ตัวเลขการจ้างงานในสาขาเหล่านี้สามารถวัดผลความสำเร็จของนโยบาย Branding Economy ได้เช่นกัน

📍 9.วัดผลด้วยความนิยมหรืออัตราความเป็นสาวกแบรนด์ (Brand Superfans) : ปัจจุบันการวัดความรู้จักแบรนด์ของผู้บริโภคนั้นไม่เพียงพอต่อการสะท้อนความแข็งแรงของแบรนด์นั้นๆ การวัดผลที่สำคัญที่สะท้อนว่าแบรนด์นั้นๆ เข้าสู่ตลาดได้แข็งแกร่ง คือการวัดอัตราความเป็นสาวกแบรนด์ (Brand Superfans Index) จะช่วยให้เห็นถึงการเติบโตของความนิยมในระดับสากลของแบรนด์นั้นๆ

การใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้จะช่วยให้รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายสามารถติดตามผลลัพธ์ของนโยบาย Branding Economy ได้อย่างชัดเจน และแน่นอนครับในหลายประเทศที่เปลี่ยนจากประเทศกำลังพัฒนาไปเป็นพัฒนาแล้วนั้นล้วนแล้วแต่ต้องมีนโยบาย Branding Economy เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งสิ้นครับ


📣 มาเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านสร้าง Brand ที่ครบที่สุด และค้นหาคำตอบว่าทำไมภาคเศรษฐกิจไทยจะใช้แบรนด์ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างไร ที่งานเทศกาลนวัตกรรมและความรู้การสร้างแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดประจำปี Bangkok International Branding Festival 2024


งานอีเวนท์ที่รวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ที่มีประสบการณ์และเวทีของแบรนด์ที่เป็นที่สุดในประเทศไทย ภายใต้คอนเซปต์ในปีนี้ “Branding In the Future” สร้างแบรนด์ยุคใหม่ สร้างแบรนด์ให้เป็นสินทรัพย์


🟥🟡🔷 พบกับ 5 Highlight ภายในงานที่เฉพาะงานนี้ ไม่ควรพลาด!!!

1. การทรานส์ฟอร์มแบรนด์ให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset)

2. วิธีการวัดมูลค่าแบรนด์แห่งอนาคตต้องวางแผน คิด และทำอย่างไร ?

3. วิธีการพัฒนาแบรนด์ให้มีความแตกต่างด้วยงานออกแบบที่ทรงพลัง

4. ประกาศรางวัล The Most Valuable Brand 2024 แบรนด์ที่มีมูลค่าแห่งอนาคตมากที่สุดประจำปี 2024 มากกว่า 10 กลุ่มอุตสาหกรรม

5. ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ อาทิ Brand Research, Brand Strategist, Brand Identity Design, Brand Experience Design เป็นต้นสามารถจองบัตร Early Bird ได้แล้ววันนี้

ในราคา 2,000 บาท (จากราคาปกติ 2,500 บาท)


🚩 สำหรับองค์กรที่ต้องการใบเสนอราคาบัตรองค์กร หรือสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน

Bangkok International Branding Festival 2024

สามารถติดต่อได้ที่ Contact@baramizi.co.th

หรือโทร. 098 - 1474652 (ไอซ์) ผู้จัดงาน

ดู 76 ครั้ง
bottom of page