ทำไมรัฐบาลไทยจึงควรมีนโยบายสร้าง Global Brand ลองมาดูกรณีศึกษานี้
✅ ทำไมประเทศไทยมีอาหารอร่อยมากมาย
❎ แต่ไม่มีแบรนด์ระดับโลกที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากมาย
✅ ทำไมเรามัวแต่ประกันข้าว จำนำข้าว ขายข้าวเก่า
❎ ไม่คิดสร้างแบรนด์ข้าวของไทยให้ไประดับโลก !!
✅ สินค้าเกษตรเรา และ Local Ingredient เรามีศักยภาพที่สูงมาก
❎ แต่ขีดความสามารถทางการแข่งขันต่ำมาก การเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างแบรนด์เราก็ต่ำมาก เช่นกัน
แล้วทำไม ซอสถั่วเหลือง แบรนด์คิกโคแมนถึงมีมูลค่าหลายแสนล้าน !!
ภาพ : https://www.kikkoman.eu/about-kikkoman/company/history-of-kikkoman
แบรนด์คิกโคแมนถือกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น
Kikkoman จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ 270,000 ล้านบาท มีรายได้ปัจจุบัน 118,000 ล้านบาท และกำไร 7 พันล้านบาท
" ซอสของเราจะตั้งอยู่บนโต๊ะอาหารทั่วโลก"
นี่คือวิสัยทัศน์ที่ผู้ก่อตั้งได้มองไว้ว่าซอสคิกโคแมนจะไม่ใช่แค่แบรนด์ในประเทศแต่จะขยายไปทั่วโลก แล้วเขาทำอย่างไร ?
นอกจากสูตรการปรุงซอสถั่วเหลืองที่ยอดเยี่ยมแล้วเขาสร้างแบรนด์ด้วยการออกแบบที่ทรงพลัง !
พลังของการออกแบบ (Power of Design) ช่วยสร้างแบรนด์นี้อย่างไร ?
📣 การสร้างแบรนด์ที่มองแค่การรีวิวสินค้า ผ่านอินฟลูหรือ ซื้อ Ads ออนไลน์เวลาไม่ใช่การสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนแต่เป็นการตลาดชั่วคราวเท่านั้น แต่การสร้างแบรนด์จากการออกแบบที่ยอดเยี่ยมจะช่วยสร้างพลังให้แบรนด์อย่างมาก
ซอสถั่วเหลืองธรรมดาแต่ด้วยการออกแบบ Packaging ที่เป็นเอกลักษณ์ พิถีพิถัน และมี
การออกแบบที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี พลังการออกแบบนี้จึงเป็นสาระสำคัญตัวตนของแบรนด์ (Essence) ที่ทำให้แบรนด์นี้กลายเป็นแบรนด์ซอสถั่วเหลืองอันดับหนึ่งของโลก
ภาพ : https://miro.medium.com/v2/resize:fit:828/format:webp/1*MIK76VIeaKIELYidj0L9iA.jpeg
การออกแบบขวดซอสคิกโคแมนนั้นออกแบบโดยเคนจิ เอกุอัน (Kenji Ekuan)
หนึ่งในผลงานอันเลื่องชื่อที่สุด คือ การออกแบบขวดซอสถั่วเหลือง ยี่ห้อ 'คิกโคแมน' ในปี 1961 ขวดซอสดังกล่าวมีขนาดกะทัดรัด ฝาสีแดง และใช้งานได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญที่สุดยังช่วยให้แบรนด์ 'คิกโคแมน' โด่งดังไปทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องปรุงรส ที่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาหารญี่ปุ่นเสมอ
มีหลักการออกแบบที่ครบถ้วนโดย
🎯 1. รูปทรงการออกแบบขวดนั้น สามาถวางบนโต๊ะอาหารโดยป้องกันการเอามือปัดล้ม มีฐานที่มั่งคงแต่เบาสะดวกในการใช้งาน
🎯 2. รูปทรงมีความเป็นเอกลักษณ์ด้วยเส้นสายที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่น และสะดวกในการหยิบ จับ วาง
🎯 3. ขวดแก้วใสที่มองเห็นความสะอาดและน่าทานของซอส
🎯 4. ฝาที่เหยาะซอสในมื้ออาหารนั้นต้องสะดวกและไม่ทำให้หกใส่จานในปริมาณมากเกินไป
🎯 5. ฝาที่เหยาะซอสไม่ต้องมีฝาปิดที่อาจจะทำให้ซอสกระเด็นใส่เสื้อผ้า
🎯 6. ฝาปิดที่เรียบง่าย รูปทรงโดยรวมของขวดและฝานั้นวางปั้ปก็รู้ทันทีว่ามีกลิ่นอายของจิตวิญญาณความเป็นญี่ปุ่น
โดยผลงานออกแบบชิ้นนี้นั้นได้กลายเป็นผลงานการออกแบบร่วมสมัยที่จัดอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดชิ้นหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นและได้จัดแสดงไว้ในพิพิธถัณฑ์โมเดิร์นอาร์ท
ในประเทศญี่ปุ่น
🔴 จะเห็นว่าการที่แบรนด์ คิกโคแมน ลงทุนกับการจ้างนักออกแบบมืออาชีพมาออกแบบขวดซอสถั่วเหลืองให้ยอดเยี่ยมนั้น เป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่ามากครับ เพราะขวดซอสบนโต๊ะอาหารเป็นจุดสัมผัสแบรนด์ที่สำคัญที่สุด (Brand Key Touchpoints) หรือเรียกว่าเป็นจุดสัมผัส จุดปะทะกับลูกค้ามากที่สุด รองจากโลโก้ ดังนั้นการที่แบรนด์ลงทุนกับจุดเหล่านี้ถือเป็นการลงทุนในการสร้างแบรนด์ที่คุ้มค่า จึงทำให้ซอสถั่วเหลืองที่เหมือนจะธรรมดา กลายเป็น Global Brand ที่เติบโตได้อย่างยั่งยืนมาถึงทุกวันนี้
ติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาด้านการพัฒนาแบรนด์ให้มีมูลค่าและทำให้ธุรกิจเติบโต ได้ที่
โทร. 063-3642492 (คุณโบว์)
อีเมล์ kanyarath.r@baramizi.co.th