top of page
รูปภาพนักเขียนBaramizi

Sonic Branding ศิลปะแห่งเสียงที่เพิ่มพลังให้แบรนด์

สวัสดีครับคุณผู้อ่านและติดตามที่สนใจและเชื่อว่าธุรกิจจะแข็งแรงได้ต้องสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง ก่อนจะเข้าเนื้อหาผมก็อยากย้ำอีกทีครับว่า แบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้หรือภาพลักษณ์ และการสร้างแบรนด์คือการสร้างสินทรัพย์ที่สำคัญที่เรียกว่า Intangible Asset ที่นับวันสินทรัพย์นี้จะมีมูลค่าอย่างมหาศาล และเมื่อแบรนด์แข็งแรงจะเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้นตามไปด้วย


วันนี้ประเทศไทยต้องก้าวผ่านจากแค่เป็นเพียงผู้ผลิต ไปเป็นประเทศที่ส่งออกแบรนด์ไปทั่วโลก หรือผลักดันให้เกิด Global Brand ให้มากขึ้น เศรษฐกิจประเทศไทยจึงจะสามารถไปต่อและเติบโตได้ครับ


สำหรับในตอนนี้อยากจะเอาเรื่องใกล้ๆ ตัวที่เรามักมองข้ามในการสร้างแบรนด์ และเป็นสิ่งที่ทำให้เพิ่มความมีชีวิตชีวา หรือพลังให้กับแบรนด์เป็นอย่างมาก ศิลปะที่ว่านี้เราเรียกว่า Sonic Branding

Sonic Branding คือ การใช้ศิลปะหรือสุทรียจากเสียงหรือดนตรีเพื่อสร้างและสื่อสารเอกลักษณ์ของแบรนด์ผ่านเสียงที่เฉพาะเจาะจง เสียงนี้อาจเป็นเสียงจดจำที่ใช้ในโฆษณา, การใช้สินค้า, การรอคิว, เสียงโทรศัพท์ หรือการแนะนำสินค้าและบริการ โดย Sonic Branding ช่วยสร้างการเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ ทำให้แบรนด์นั้นเป็นแบรนด์ที่มีชีวิตชีวา จดจำได้ง่าย และสร้างคุณค่าแบรนด์ได้เพิ่มมากขึ้น

 

ตัวอย่างที่ชัดเจนของ Sonic Branding คือเสียง jingles หรือ Sonic Logos เช่น เสียง "Intel Inside" หรือเสียงเปิดตัวภาพยนตร์ของ 20th Century Fox เสียงเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคจำแบรนด์หรือองค์กรได้ทันทีเมื่อได้ยินเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และผู้บริโภคจะเตรียมพร้อมที่จะได้รับประสบการณ์ที่เชื่อมโยงคุณค่าจากแบรนด์

ทำไมแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมักมีการใช้ Sonic Branding มาเป็นเครื่องมือ เรามาสรุปกันครับว่าประโยชน์ของ Sonic Branding มีอะไรบ้าง ?


1. การจดจำแบรนด์ (Brand Recall) : ช่วยให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้ทันทีเมื่อได้ยินเสียงหรือดนตรีที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์

2. การสร้างอารมณ์ (Emotional Expereince) : เสียงหรือดนตรีสามารถสร้างอารมณ์และความรู้สึก ทำให้ผู้บริโภคมีความผูกพันกับแบรนด์ และสามารถเชื่อมโยงคุณค่าแบรนด์ไปเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกขึ้นกับแบรนด์นั้นๆ อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3. สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) : ศิลปะแห่งเสียงและดนตรี ช่วยให้การสร้างความเป็นเอกลักษณ์แบรนด์ มีความแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน Sonic Branding จึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตลาดยุคปัจจุบัน เนื่องจากเสียงสามารถสร้างความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสื่อเข้าถึงจิตใต้สำนึกของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กรณีศึกษาตัวอย่างที่ดีของ Sonic Branding คือ

1. แบรนด์ Intel

เสียง "Intel Inside" หรือที่รู้จักกันว่า Intel Bong เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของ Sonic Branding เสียงนี้ถูกใช้ในโฆษณาและสื่อต่าง ๆ ของ Intel มานานหลายปี ทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำแบรนด์ได้ทันทีแม้ไม่ได้เห็นโลโก้หรือภาพใด ๆ

2. McDonald's

เสียง "I'm Lovin' It" ของ McDonald's เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่มีชื่อเสียง ซึ่งใช้ในแคมเปญโฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุทั่วโลก เสียงดนตรีสั้น ๆ ที่ลงท้ายด้วยคำว่า "I'm Lovin' It" ช่วยสร้างความจดจำให้กับผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย

3. Netflix

เสียง "ta-dum" ที่ใช้เมื่อเปิดแอป Netflix หรือเมื่อเริ่มการสตรีม เป็นเสียงที่มีเอกลักษณ์และเชื่อมโยงกับแบรนด์ Netflix ทำให้ผู้ใช้รู้สึกตื่นเต้นและพร้อมที่จะรับชมคอนเทนต์ใหม่ที่ให้ประสบการณ์ว่าคืนนี้คุณจะไม่นอนและตื่นเต้นไปกับคอนเทนต์ของเรา

4. Apple

เสียงแจ้งเตือนหรือเสียงการเปิดเครื่องของ Apple เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึงการใช้เสียงในการสร้างแบรนด์ เสียงเหล่านี้มักจะสื่อถึงคุณภาพและความหรูหรา ซึ่งสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของ Apple ทำให้ประสบการณ์การใช้งานของทุกๆ ผลิตภัณฑ์จาก Apple มีสุนทรียภาพที่แตกต่างจากคู่แข่ง

5. Coca-Cola

ในโฆษณา Coca-Cola มักใช้เสียงเปิดขวดน้ำอัดลมและเสียงฟู่ของฟองน้ำ ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์ของแบรนด์ Coca-Cola และช่วยให้ผู้บริโภคจดจำได้ง่าย และสร้างประสบการณ์ที่เป็นเครื่องดื่มที่ดับกระหายได้เป็นอย่างดี

6. LINE เสียงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เสียงแจ้งเตือนที่มีลักษณะเฉพาะของ LINE เมื่อมีข้อความหรือการแจ้งเตือนใหม่เข้ามา เป็นเสียงสั้น ๆ ที่ผู้ใช้งานคุ้นเคย เสียงนี้ถูกออกแบบให้เรียบง่ายแต่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถจำได้ทันทีว่าเป็นข้อความจาก LINE


องค์ประกอบที่สำคัญของ Sonic Branding ของ LINE 

- เสียงแจ้งเตือน (Notification sound):

เป็นเสียงสั้น ๆ แต่มีจังหวะที่จำง่ายและน่าจดจำ เสียงนี้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ใช้และมีความเชื่อมโยงกับการใช้งานแอปพลิเคชัน LINE

- เสียงเมื่อสิ้นสุดการโทร เสียงเฉพาะที่ใช้งานเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการโทรด้วย LINE นี่คืออีกหนึ่งลักษณะของ Sonic Branding ที่ช่วยสร้างความผูกพันกับผู้ใช้

- เสียงสติกเกอร์เสียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการสนทนาผ่านแอปพลิเคชัน เพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ในการสื่อสาร นอกจากนี้ในบางโอกาส LINE ยังสร้างเสียงพิเศษสำหรับแคมเปญต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับธีมหรือเทศกาลอีกด้วย


ตัวอย่างจากกรณีศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพลังของเสียงที่สามารถทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำ และสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภคได้อย่างมีเอกลักษณ์ และอยากเห็นแบรนด์ไทยสามารถนำกลยุทธ์ Sonic Branding ไปปรับใช้เพื่อเพิ่มการจดจำ, เอกลักษณ์ และความมีชีวิตชีวา อันนำไปสู่การสร้างพลังแบรนด์ได้มากขึ้นต่อไปได้


#Sonicbranding #NationBranding #Baramizi

📣 มาเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านสร้าง Brand ที่ครบที่สุด และพบกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Sonic Branding ที่งานเทศกาลนวัตกรรมและความรู้การสร้างแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดประจำปี Bangkok International Branding Festival 2024


งานอีเวนท์ที่รวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ที่มีประสบการณ์และเวทีของแบรนด์ที่เป็นที่สุดในประเทศไทย ภายใต้คอนเซปต์ในปีนี้ “Branding In the Future” สร้างแบรนด์ยุคใหม่ สร้างแบรนด์ให้เป็นสินทรัพย์


🟥🟡🔷 พบกับ 5 Highlight ภายในงานที่เฉพาะงานนี้ ไม่ควรพลาด!!!

1. การทรานส์ฟอร์มแบรนด์ให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset)

2. วิธีการวัดมูลค่าแบรนด์แห่งอนาคตต้องวางแผน คิด และทำอย่างไร ?

3. วิธีการพัฒนาแบรนด์ให้มีความแตกต่างด้วยงานออกแบบที่ทรงพลัง

4. ประกาศรางวัล The Most Valuable Brand 2024 แบรนด์ที่มีมูลค่าแห่งอนาคตมากที่สุดประจำปี 2024 มากกว่า 10 กลุ่มอุตสาหกรรม

5. ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ อาทิ Brand Research, Brand Strategist, Brand Identity Design, Brand Experience Design เป็นต้น


ซื้อบัตรได้แล้ววันนี้

Regular Ticket ราคา 2,500 บาท

Corporate Ticket ราคา 2,375 บาท (เมื่อซื้อ 4 ใบขึ้นไป)


🚩 สำหรับองค์กรที่ต้องการใบเสนอราคาบัตรองค์กร หรือสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน

Bangkok International Branding Festival 2024

สามารถติดต่อได้ที่ Contact@baramizi.co.th

หรือโทร. 098 - 1474652 (ไอซ์) ผู้จัดงาน

ดู 23 ครั้ง
bottom of page