ทำไมประเทศไทยควรพัฒนาไปสู่ Global Brand มากขึ้น?
- Baramizi
- 14 ก.พ.
- ยาว 1 นาที
สวัสดีผู้สนใจการพัฒนาธุรกิจให้มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งทุกท่านครับ จากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเห็นแล้วก็น่ากังวลครับ เพราะทุกๆ สำนักเห็นตรงกันว่า GDP เราจะเติบโตไม่เกิน 3% ซึ่งรั้งท้ายในอาเซียนครับ
เราจะพึ่งแค่การท่องเที่ยว และส่งออกไม่ได้แล้ว หรือจะหันไปพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง AI กับเจ้าใหญ่ๆ ของโลกทั้งหลายก็ไม่รู้ว่าจะตามทันเมื่อไร นโยบายสำคัญที่รัฐบาลหรือภาคเอกชนควรมาพิจารณาคือการต่อยอดธุรกิจเดิมในประเทศให้ขยายออกไปยังต่างประเทศ
แต่....ไม่ใช่ส่งออกสินค้านะครับ แต่ต้องส่งออกแบรนด์ไทยครับ
หรือเรียกได้ว่าพัฒนาธุรกิจในประเทศให้เป็น Global Brand มากยิ่งขึ้น ทำไมการพัฒนาแบรนด์ไทยให้เป็น Global Brand เป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก มีเหตุผลสำคัญ ดังนี้

1. ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจและการเติบโตของธุรกิจ
✅ ตลาดภายในประเทศมีขนาดจำกัด การออกสู่ตลาดโลกช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้และฐานลูกค้า
✅ ประเทศไทยมีศักยภาพด้านสินค้าและบริการหลายประเภท เช่น อาหาร, แฟชั่น, การท่องเที่ยว, Soft Power, ความงาม, อาหารเสริม และ อสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ จึงควรนำมาพิจารณาในการผลักดันต่อยอดสู่การทำให้ธุรกิจเหล่านี้ก้าวไปสู่ Global Brand Global Market
2. เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ
✅ หากแบรนด์ไทยก้าวสู่ระดับโลก มูลค่าแบรนด์จะเพิ่มขึ้น เช่น กรณีของ MUJI (ญี่ปุ่น), Redbull, M&M, KFC, Samsung (เกาหลีใต้) ที่กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก ซึ่งทำให้ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจและประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น
✅ การเป็น Global Brand ทำให้สามารถตั้งราคาสูงขึ้น และไม่ต้องแข่งขันที่ต้นทุนต่ำเพียงอย่างเดียว
3. ยกระดับความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของประเทศ
✅ ประเทศที่มีแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ มักถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง สร้างความน่าเชื่อถือในสายตาชาวโลก
✅ หากไทยมี Global Brand มากขึ้น ภาพลักษณ์ประเทศจะดีขึ้นในสายตานานาชาติ
✅ ทำให้ยกระดับอำนาจต่อรองในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
4. ลดการพึ่งพาการส่งออกแบบดั้งเดิม
✅ ไทยพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ข้าว ยางพารา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมักแข่งขันที่ราคา และมีอำนาจต่อรองน้อยในตลาด
✅ หากมี Global Brand มากขึ้น ไทยสามารถส่งออกสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น แฟชั่น อาหาร เครื่องสำอาง เทคโนโลยี หรืออสังหาริมทรัพย์
5. สร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมการแข่งขันระยะยาว
✅ แบรนด์ระดับโลกจะช่วยสร้าง นวัตกรรม ในประเทศอัตโนมัติเพราะต้องทำงานกับนักวิจัยหลากหลายด้านเพื่อออกสินค้าใหม่ให้สามารถเข้าตลาดได้ซึ่งเป็นการผลักดันให้ธุรกิจไทยแข่งขันได้ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น Alibaba, BYD, Mi, Samsung และ Hyundai ที่เริ่มต้นจากตลาดภายในประเทศและพัฒนาจนเป็น Global Brand ที่ทรงอิทธิพลได้ประสบความสำเร็จ
6. ส่งเสริม Soft Power และวัฒนธรรมไทยสู่สากล
✅ การเป็น Global Brand ช่วยให้ไทยใช้ Soft Power ผลักดันวัฒนธรรมไทยไปสู่ตลาดโลก เช่น อาหารไทย แฟชั่นไทย ศิลปะและดนตรีไทย โดยการเพิ่มมูลค่าต่อยอดให้คนในอุตสาหกรรมนี้เกิดรายได้มากกมายเหมือนใน Hollywood ที่คนในวงการนี้ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีของโลกมากมาย แบรนด์ที่สามารถสร้าง Soft Power ได้ เช่น K-pop ของเกาหลีใต้, Hello Kitty ของญี่ปุ่น, Hollywood จากสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
7. รองรับแนวโน้มโลก เช่น Sustainability และ Low Carbon Economy
✅ ตลาดโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ความยั่งยืน (Sustainability) และ Low Carbon Economy ซึ่งไทยสามารถใช้จุดแข็งนี้ในการพัฒนาแบรนด์ที่ตอบโจทย์แนวโน้มโลก ตัวอย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์แบบ Low Carbon Architecture, อาหารจากพืช (Plant-Based Food) ที่เป็นที่ต้องการสูง หรือ วัสดุคาร์บอนต่ำ ที่ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ผมคิดว่าปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นโยบาย Global Brand ควรถูกดำเนินการโดยเร็ว และทำให้เป็นรูปธรรมเพื่อทำให้เศรษฐกิจของไทยไปต่อได้ และที่สำคัญเติบโตอย่างยั่งยืนแน่นอนครับ
สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาด้านการพัฒนาแบรนด์ให้มีมูลค่าและทำให้ธุรกิจเติบโต
ได้ที่ โทร. 088-2236546 (คุณเอม)
อีเมล์ Sutthinee.b@baramizi.co.th
#Globalbrand #Branding #Business #Licensing